top of page

โรคความดันโลหิตสูง

อัปเดตเมื่อ 14 ส.ค. 2567

นักฆ่าเงียบแห่งรัตติกาล



ทำไมถึงได้ชื่อว่านักฆ่าเงียบ หรือมัจจุราชมืด เพราะโรคความดันโลหิตสูง จะไม่ค่อยแสดงอาการออกมา ไม่รู้ตัว ไม่มีความผิดปกติอะไรให้รู้สึกหรือทราบเลย (กว่าร้อยละ 90) รู้ตัวอีกทีต้องหามเข้าโรงพยาบาล หรือเสียชีวิตกระทันหันเชื่อกันว่าเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ พันธุกรรมและพฤติกรรม


1 ในโรคที่ไปก่อให้เกิดโรคร้ายแรงตามอวัยวะสำคัญ ๆ ของร่างกาย เช่น หัวใจ สมอง ไต เป็นต้น



อาการของคนเป็นโรคนี้

ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการใด ๆ (Silent Killer)


การวินิจฉัย และการรักษา

เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมาให้เห็นชัด เราจะทราบได้ก็ต่อเมื่อมีการตรวจวัดความดันโลหิต โดยสามารถดูจาก


ตัวเลขช่วงบน ไม่ควรเกิน 120 มิลลิเมตรปรอท (ค่าความดันช่วงหัวใจบีบตัว)

ตัวเลขช่วงล่างไม่ควรเกิน 80 มิลลิเมตรปรอท (ค่าความดันช่วงหัวใจคลายตัว)



การรักษา ให้อยู่ในความดูแลรักษาของแพทย์ อาจมีตรวจพิเศษเพิ่ม เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ x-ray คลื่นหัวใจ เป็นต้น และยาลดความดันโลหิต


การดูแลตัวเอง

1. งดอาหารเค็ม หยุดสูบบุหรี่

2. ลดความมัน ของหวาน, ลดน้ำหนักส่วนเกิน

3. กินผัก ผลไม้ และกากใยให้มาก ๆ

4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที 3-5 วันต่อวีค และพักผ่อนให้เพียงพอ

6. นัดติดตามกับแพทย์สม่ำเสมอ

7. ควรมีเครื่องวัดความดันโลหิตติดบ้าน


ภาวะแทรกซ้อน และความเชื่อผิด ๆ

เนื่องจากเป็นโรคที่ยังหาสาเหตุไม่ได้ และไม่แสดงอาการใด ๆ ให้รู้ก่อน ผู้ที่ป่วยอยู่แล้วต้องกินยาลดความดันโลหิตตลอดไป หมั่นตรวจเช็คความดันด้วยตัวเองสม่ำเสมอ และพบแพทย์ตามที่นัด จะช่วยลดภาวะโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตได้ เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หลอดเลือดสมองแตก (Stroke) หลอดเลือดหัวใจตีบและตัน หัวใจวาย ไตวาย เป็นต้น

ความเชื่อผิด ๆ เช่น คนผอมไม่เป็นโรคนี้, ต้องเป็นเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น หรือทานยาอย่างเดียวก็พอ ไม่ต้องปรับพฤติกรรม





รักษาสุขภาพครับ


โชคชัย เอไอเอ

ซื้อประกันโรคร้าย ให้ผมช่วย




Credit : NCDs โรคร้ายที่คนไทย (อาจ) หนีไม่พ้น

 
 
 

Comentários


bottom of page